รีวิว Godzilla King of the Monsters
หนังใหม่แนะนำ สวัสดีครับ แอดเชื่อว่าหลายๆคนคงชอบสัตว์ประหลาดกันไม่น้อย และอีกหนึ่งตัวที่มีแฟนๆ ชอบมาก และเป็นที่โด่งดังก็คือ ก็อตซิล่า นั้นเอง และดูเหมือนภาคนี้ท่าทางจะประตูบานใหญ่ที่ตั้งใจเปิดออกสู่ “Monsterverse” ดูจะมีวี่แววไม่ดีเสียแล้ว กับโปรเจกต์สำคัญของค่ายลีเจนดารี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่คาดหวังจะมีจักรวาลเป็นของตัวเอง ด้วยการซื้อสัญญาร่วมกับโตโฮ ค่ายหนังใหญ่ของญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของตัวประหลาดยักษ์มากมายในจักรวาลก็อดซิลล่าของเขา ที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่ยุค 60s หลังจากปูทางมาตั้งแต่ Godzilla (2014)
ต่อเนื่องมาถึง Kong : Skull Island (2017) แล้วก็ถือโอกาสเปิดตัวเต็ม ๆ ว่านี่คือการเปิดจักรวาลสัตว์ประหลาดยักษ์ ด้วยการดึงเหล่าตัวประหลาดยักษ์ของโตโฮมาโชว์โฉมกันเพียบทั้งก็อดซิลล่า , คิงกิโดราห์ , ม็อธร่า และ โรดัน แถมยังมีอีกหลายตัวที่มาเดินโชว์โฉมแต่ไม่ได้มีการแนะนำชื่อเสียงเรียงนามให้ได้รู้จัก เว็บดูหนัง
รีวิว Godzilla King of the Monsters
รีวิวหนังใหม่ หนังสานต่อเรื่องราวจาก Godzilla (2014) ตามช่วงเวลาจริง หนังเว้นห่างกัน 5 ปี เหตุการณ์ในหนังก็ห่างกัน 5 ปี หลังจากการปรากฏตัวของ ก็อดซิลล่า วิทยาการขององค์กรโมนาร์ชก็พัฒนาขึ้น สามารถค้นเจออสูรยักษ์ที่หลบซ่อนอยู่ตามมุมต่าง ๆ ของโลกได้ถึง 17 ตัว และ ภายในช่วง 5 ปีนี่ ดร.เอ็มม่า ก็สามารถพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถสร้างคลื่นความถี่ที่สามารถติดต่อสื่อสารกับอสูรยักษ์ได้
เรียกอุปกรณ์นี้ว่า “ออการ์” ในระหว่างที่ใช้ออการ์สื่อสารกับม็อธร่า โจนาห์ อลัน หัวหน้ากลุ่มผู้ก่อการร้ายก็มาชิงออการ์ และ จับตัว ดร.เอ็มมา กับเมดิสัน ลูกสาวไป และ ใช้ออการ์ในการปลุกอสูรยักษ์ทั่วโลก ทำให้ก็อดซิลล่าต้องลุกขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อกำราบเหล่าอสูรยักษ์ทั่วโลก และ หนึ่งในนั้นคือ คิงกิโดร่า มังกร 3 หัว คู่ปรับตลอดกาลของก็อดซิลล่า ที่รอบนี้เล่นเอาพี่ก็อดเกือบแย่อยู่หลายครั้ง
หลังจาก Godzilla (2014)ออกฉาย ก็มีเสียงบ่นจากผู้ชมว่าได้เห็นตัวก็อดซิลล่าน้อยเกินไปไม่จุใจเลย ทางค่ายก็รับฟังเสียงจากผู้ชม มาถึง Godzilla: King of the Monsters ก็เลยจัดให้แบบสะใจกันไปเลย หนังปูเรื่องเพียงแค่ 10 นาที บรรดาอสูรยักษ์ก็ทยอยกันปรากฏตัว พี่ก็อดก็ออกมาพะบู๊กันตั้งแต่ต้นเรื่องไปเลย
ทำให้บรรยากาศของภาคนี้ดูห่างไกลจาก Godzilla (2014)ไปมาก แม้นี่คือหนังภาคต่อเนื่องกัน จากภาคที่แล้วเห็นก็อดซิลล่ากันแบบวับ ๆ แวม ๆ มืด ๆ ภาคนี้ก็เลยมายืนจังก้าให้เห็นกันเต็ม ๆ ไป เน้นขายเหล่าอสูรยักษ์ตีกันแบบจริงจัง แม้ว่าในเทรลเลอร์บอกว่าโมนาร์ชค้นพบอสูรยักษ์ทั่วโลก 17 ตัว แต่ก็มีบทบาทจริง ๆ แค่ 4 ตัวหลักคือ ก็อดซิลล่า , คิงกิโดราห์ , ม็อธร่า และ โรดัน เท่านั้น ที่เหลือก็เดินผ่านกล้องให้เห็นแค่ 2-3 ฉาก
โทนหนังของภาคนี้น่าจะถูกใจผู้ชมในกลุ่มเด็กผู้ชาย ที่ชอบตัวประหลาดยักษ์เสียมากกว่า เพราะบรรยากาศหนังออกไปแนวอุลตร้าแมนมาก จากภาคก่อน ๆ ที่วางบทบาทของก็อดซิลล่าให้เป็นสัตว์ประหลาดยักษ์ยุคดึกดำบรรพ์ซุกตัวอยู่ใต้ทะเลลึก เพื่อหนีห่างจากมนุษย์โลก
ตัวก็อดซิลล่ายังมีความลึกลับน่ากลัวให้สัมผัสได้ ในโทนที่ใกล้เคียงกับบรรดาไดโนเสาร์ในแฟรนไชส์ Jurassic Park ทุกครั้งที่แนะนำไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ ก็ต้องลุ้นกับภาพลักษณ์ และ พิษสงของมัน แต่กับบรรดาอสูรยักษ์ใน Godzilla: King of the Monsters กลับไม่มีความลึกลับน่ากลัวเหลือให้สัมผัสเลย
แต่ละตัวเหมือนสัตว์ประหลาดในหนังอุลตร้าแมนที่ออกมาตบตีกันตุ้บตั้บ แล้วมีท่าไม้ตายด้วยการปล่อยแสง เป็นภาคที่พาเหล่าอสูรยักษ์ยกระดับไปไกลจนไม่คงความเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ให้เห็นอีกต่อไป ฉากที่บรรดาอสูรยักษ์ตีกันก็พอบันเทิงดี ชอบที่สุดคือฉากโรดันต่อสู้กับเครื่องบินรบเป็นฉากที่ยาว และ สนุกแม้จะทำใจไว้แล้วว่านี่คือหนังสัตว์ประหลาดที่สร้างโดยฮอลลีวู้ด ต้องปล่อยวางเรื่องตรรกะความเป็นจริงให้มากที่สุด
แต่ในรายละเอียดของหนังเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละคร ความคิดการตัดสินใจของตัวละคร ที่เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ก็ช่างดูไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิง ทั้งหมดต้องชี้นิ้วไปที่คนเดียวคือ ไมเคิล โดเฮอร์ตี้ ผู้กำกับที่เหมาหน้าที่เขียนบทเองด้วย กับการเพิ่มตัวละครบุคคลเข้าไปอีกมากในหนังที่มีอสูรยักษ์วิ่งกันเต็มจอไปหมดแบบนี้ ตัวละครมนุษย์หลาย ๆ ตัวก็ดูใส่เข้ามาให้เกินความจำเป็น
แต่ว่าภาคนี้ดึงตัวละครจากภาคที่แล้วมาเกือบครบ แล้วยังเพิ่มตัวละครใหม่ ๆ เข้าไปทั้ง จางซิยี่ , โอเชียร์ แจ็คสัน และ ชาร์ล แดนซ์ ที่แต่ละคนก็เล่นกันด้วยอารมณ์หน้านิ่วคิ้วขมวดเหมือนกันหมด พอเพิ่มเรื่องราวของฝั่งมนุษย์ก็เลยกลายเป็นความกังวลที่จะต้องแบ่งน้ำหนักเฉลี่ยมาให้บรรดาตัวละครมนุษย์ เว็บหนัง
โดยเฉพาะฉากดราม่าที่ไม่ได้สร้างอารมณ์ร่วมเลยแม้เพียงนิด ฉากการเสียสละชีวิตของตัวละครหลักก็ใส่เข้ามาตามสูตรสำเร็จในหนัง ตามธรรมเนียมหนังภัยพิบัติ ฉากดราม่าพ่อแม่ลูกก็เช่นกันตามสูตรเป๊ะที่จะต้องเห็นอกเห็นใจกันท่ามกลางภัยพิบัติ บทเมดิสัน ของมิลลี่ บ็อบบี้ บราวน์ ยังคงเอกลักษณ์ของตัวละครเด็กสาวในหนังภัยพิบัติที่เป็นตัวสร้างภาระความวุ่นวายในหนังประเภทนี้ กรี๊ด กรี๊ด
สรุป Godzilla King of the Monsters
รีวิวหนังใหม่ สำหรับหนังในแนวนี้ที่ชื่อเรื่องยังสปอยล์ให้คนดูรู้ผลลัพธ์กันตั้งแต่ชื่อเรื่องว่าใครคือผู้ชนะ ฉะนั้นบทภาพยนตร์คือสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง ว่าจะเล่าเรื่องราวที่คนดูรู้บทลงเอยอยู่แล้ว ให้สนุก ชวนลุ้น น่าติดตามได้อย่างไร ก็ต้องถือว่า ไมเคิล โดเฮอร์ตี้ ยังไม่ใช่ผู้กำกับที่เหมาะสมกับหนัง 200 ล้านเรื่องนี้ และ เป็นตัวอย่างด้านลบต่อกระแสความนิยมของค่ายหนังในช่วง 10 – 20 ปีหลังมานี่ ที่ชอบดึงผู้กำกับที่ประสบความสำเร็จจากหนังเทศกาล หนังฟอร์มเล็กแล้วได้เงิน ให้มากำกับหนังทุนสูงระดับบล็อคบัสเตอร์ ซึ่งหลาย ๆ คนก็ประสบความสำเร็จ
ชวนให้ชื่นชมผู้บริหารค่ายที่มีสายตาเฉียบคม และ กล้าเสี่ยง ได้ผู้กำกับมือใหม่ไฟแรงมีวิสัยทัศน์ใหม่ ๆ โดยไม่ต้องไปจ่ายผู้กำกับมือเก๋าค่าตัวแพง ๆ ยกตัวอย่างให้เห็นอย่าง สก็อตต์ เดริคสัน จาก sinnister ก็ไปกำกับ doctor Strange , เจมส์ วาน จาก The Conjuring ก็ได้ไปกำกับ Fast 7 , ไรอัน จอห์นสัน จาก Looper ก็ได้ไปกำกับโคตรหนังอย่าง Star Wars: Episode VIII – The Last Jedi หรือแม้ แต่ แกเร็ธ เอ็ดเวิร์ดจาก Godzilla (2014) ก็มาจากหนังสายรางวัล Monster (2010) แต่กับ ไมเคิล โดเฮอร์ตี้ ผู้กำกับเรื่องนี้ เคยมีผลงานมาแค่ Krampus ,trick ‘r Treat เป็นหนังที่ไม่ได้ประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้ และ รางวัล แต่ทางค่ายก็โยนโปรเจกต์ระดับ 200 ล้านให้ทำ ผลก็ออกมาแบบนี้ล่ะครับ
Godzilla: King of the Monsters เหมาะจูงลูกจูงหลานเข้าไปดูสัตว์ประหลาดยักษ์ตีกัน 2 ชั่วโมงกว่า ๆ ห้ามคาดหวังความสมเหตุสมผลของเนื้อหา อย่าคิดตามการตัดสินใจของตัวละคร ดูโรงธรรมดาก็พอ ไม่ต้อง 3 มิติ ไม่ได้เพิ่มอรรถรสใด ๆ ให้กับหนังเลย หนังมีฉากหลังเครดิต 1 ตัว ปูทางไป Godzilla vs. Kong ที่วางกำหนดฉายไว้ปีหน้า ถ้าเรื่องนี้ได้ตังค์อ่ะนะ ดูหนัง
จุดเด่น
– บทไร้ซึ่งความสมเหตุสมผลโดยสิ้นเชิง
– บรรดาอสูรยักษ์พากันหลุดโลกกลายเป็นสัตว์ประหลาดปล่อยแสงกันไปหมด
– ไม่สามารถบาลานซ์บทส่วนมนุษย์ และ อสูรยักษ์ได้
– ดราม่าในหนังดูพยายามยัดเยียดจนเกินไป
จุดสังเกต
– หนังน่าจะถูกใจคนดูรุ่นเยาว์ ได้มาดูสัตว์ประหลาดตีกันอย่างจุใจ