รีวิว True Mothers
รีวิวหนังใหม่ สวัสดีครับแอดเชื่อว่าเราหลายๆคนนั้น คงเคยได้ยินได้ฟังคำกล่าวที่ว่า “จะถือสาหาความจริงกันไปเพื่ออะไร ในเมื่อมันก็เป็นเพียงแค่หนังแค่นิยายที่แต่งเรื่องขึ้นมาเท่านั้น!” ซึ่งประโยคดังกล่าวเป็นประโยคที่บ่งสะท้อนถึงสมบัติแห่งการเป็น fiction หรือ ‘เรื่องสมมติ’ ของศิลปะแห่งการเล่าเรื่องราวสองแขนงนี้ได้อย่างดี แม้ว่าในอดีตจะมีกลุ่มตระกูลหนัง ‘สัจนิยมใหม่’ หรือ ‘neo-realism’ นำขบวนโดยผู้กำกับอิตาเลียน Vittorio de Sica กับผลงานหนังอย่าง Shoeshine (1946) หรือ Bicycle Thieves (1948)
ที่ประกาศชัดว่า ‘หนัง fiction’ เป็นสื่อที่สามารถนำเสนอภาพชีวิตที่เกิดขึ้น และ ความเป็นไปในโลกแห่งความจริงได้โดยไม่ต้องมีสิ่งปรุงแต่ง ต่อให้หลายๆ ความจริงอาจเป็นสิ่งแสลงไร้ความโสภาก็ตาม แต่ในเมื่อธรรมชาติอีกด้านของหนัง fiction คือการสร้างความบันเทิง จึงไม่น่าแปลกใจที่เนื้อหาเรื่องราวส่วนใหญ่มักจะต้องเกินจริงในแบบ larger-than-life เพื่อให้อรรถรสในการติดตามเรื่องราวที่มิอาจพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันใกล้ตัว
อย่างไรก็ดี ผู้กำกับหลายรายยังคงยึดถือการเล่าเรื่องราวแง่มุมชีวิตด้านต่างๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมอย่างซื่อสัตย์ ปฏิบัติต่อเหตุการณ์ และ สถานการณ์ต่างๆ อย่างบริสุทธิ์ และ จริงใจ โดยมีเป้าหมายในการร่วมกันศึกษา และทำความเข้าใจ ‘ธรรมชาติ’ ของการเป็นมนุษย์ ซึ่งผู้กำกับหญิงชาวญี่ปุ่น Naomi Kawase ก็เป็นหนึ่งในนั้น กับการถ่ายทอดภาพชีวิตของชาวญี่ปุ่นในเมืองต่างจังหวัดใกล้ชิดหมู่แมกไม้ และ ธรรมชาติ
โดยผลงานเรื่องล่าสุดของเธอ True Mothers ยังคงลายเซ็นการเป็นหนังของ Naomi Kawase ที่ได้รับการประทับรับรองสถานะ Cannes Label 2020 จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 2020 ซึ่งไม่สามารถจัดงานได้ และ ต้องประกาศรายชื่อหนังที่คัดเลือกไว้ให้ผู้ชมได้ติดตามกันจากเทศกาลอื่นๆ หรือในโรงภาพยนตร์ เรื่องของ 2 สามีภรรยาที่ตัดสินใจรับเด็กมาเลี้ยงหลังพยายามมีลูกหลายครั้ง จนวันนึงมีผู้หญิงปริศนาอ้างว่าเป็นแม่ตัวจริงของเด็ก และ บังคับให้พวกเขาคืนเด็กให้กับเธอ เว็บดูหนัง
รีวิว True Mothers
รีวิวหนังใหม่ ‘True Mothers’ เป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือนิยายที่ชื่อ ‘Asa ga Kuru’ ของ ‘มิซึกิ สึจิมูระ’ ซึ่ง ผู้กำกับหญิงอย่าง ‘นาโอมิ คาวาเสะ’ ได้นำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากฉายในญี่ปุ่น ก็ได้รับกระแสวิจารณ์ที่ดีมาก จนได้มีโอกาสเข้าชิงรางวัล ‘The 44th Japan Academy Film Prize’ ที่เทียบได้กับออสการ์ของญี่ปุ่นถึง 7 รางวัล และ ได้รับฉายใน ‘เทศกาลภาพยนตร์เมื่องคานส์ ประจำปี 2020’ ในสายประกวดหลัก พร้อมทั้งยังเป็นตัวแทนหนังญี่ปุ่นเข้าชิงรางวัลออสการ์ในปีนี้ สาขาหนังต่างประเทศยอดเยี่ยมอีกด้วย
เรื่องราวของครอบครัวของ ‘ซาโตโกะ’ และ สามี ที่อยากมีลูก แต่ต้องประสบปัญหาบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถมีลูกได้อย่างใจคิด ทั้งคู่จึงต้องพึงพา ‘เบบี้ บาตอง’ บ้านที่รับอุปการะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม และ ทำหน้าที่ส่งต่อลูกต่อให้กับพ่อแม่บุญธรรม โดยมีกฏว่า แม่ที่แท้จริงจะไม่มีโอกาสติดต่อกับลูกของตัวเอง และ ครอบครัวบุญธรรมอีกต่อไป โดยซาโตโกะได้รับ ‘น้องอาซาโตะ’ มาจาก ‘ฮิคาริ’ หญิงสาวมัธยมต้นที่เกิดอุบัติเหตุตั้งครรภ์ไม่พร้อม แต่วันหนึ่ง ฮิคาริตัดสินใจโทรไปหาซาโตโกะ เพื่อขอรับน้องอาซาโตะคืน
แม้ด้วยตัวอย่างหนัง และ เรื่องย่อ จะทำให้เราคิดไปว่า นี่อาจเป็นหนังญี่ปุ่นที่ขับเน้นดราม่า เค้นน้ำตาด้วยเรื่องราวประเด็นเกี่ยวกับครอบครัว และ ประเด็นที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกบุญธรรม ซึ่งประเด็นนี้มันสามารถเป็นได้ทั้งพล็อตน้ำเน่าเมโลดราม่า ที่ว่าด้วยเรื่องของการแย่งชิงลูกระหว่างแม่แท้ ๆ กับแม่บุญธรรม หรือลึกซึ้งขึ้นอีกนิดด้วยประเด็นถกเถียงว่า ระหว่างแม่แท้ ๆ ที่ให้กำเนิด กับแม่ที่เลี้ยงดูอย่างเอาใจใส่ แม่แบบไหนคือแม่ที่แท้จริง (True Mother) หรือแม่แบบไหนมีความเป็นแม่ (Motherhood) มากกว่ากัน
แต่หนังเรื่องนี้คือหนังความยาว 2 ชั่วโมงเกือบครึ่งที่ลึก และ หนักหน่วงกว่านั้นมาก เพราะตัวหนังยังลงรายละเอียด และ สะท้อนให้เห็นภาพของความเป็นแม่ที่ไม่ใช่แค่ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดู แต่กลับสะท้อนถึง “ความเป็นแม่” ที่จะใช้คำว่า “คือหัตถาครองพิภพจบสากล” อย่างนั้นเลยก็ว่าได้ เพราะตัวหนังยังเล่าถึงความเป็นแม่ (และ ความเป็นหญิง) ที่มีอิทธิพล ส่งผลกระทบต่อคนคนหนึ่งที่เกิดมา และ อยู่ในสังคมได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ในขณะที่ช่วงแรก คุณแม่ซาโตโกะ และ สามี รับน้องอาซาโตะมามาเลี้ยงดูอย่างอบอุ่น ท่ามกลางครอบครัวชนชั้นกลางที่พอมีพอกิน ซาโตโกะเลี้ยงลูกอย่างอบอุ่น และ เข้าใจ ในขณะที่อีกฟากฝั่งหนึ่งก็คือ ฮิคาริ สาวน้อยวัยมัธยมต้น คุณแม่แท้ ๆ ของน้องอาซาโตะ ที่เกิดจากการมีอะไรกับคนรักโดยพลั้งเผลอจนเกิดปัญหา โดยที่แทบจะไม่มีใครเข้าใจเธอเลย ดูหนัง
สรุป True Mothers
รีวิวหนังใหม่ ซึ่งมันเป็นภาพสะท้อนที่ตัดกันอย่างรุนแรง ที่ทำให้เรามองเห็นอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ของสถาบันครอบครัวต่อชีวิตคนคนหนึ่ง ระหว่างครอบครัวที่เลี้ยงดูแบบเข้าใจ ยอมรับในความเป็นตัวตน และ เข้าใจทุกคนในครอบครัวอย่างเท่าเทียมกัน และ ไม่มองว่าใครเป็นตัวถ่วงเหมือนครอบครัวซาโตโกะ ในขณะที่ครอบครัวของฮิคาริ คือมุมมองของครอบครัวที่มองว่าการตั้งครรภ์ก่อนกำหนดของเธอคือปัญหา ฮิคาริกลายเป็นตัวถ่วงที่สร้างความยากลำบากให้ครอบครัว
ต้องตามแก้ปัญหา ในที่สุด ปัญหาในบ้าน และ ความไม่เข้าใจของพ่อ และ แม่ จึงเหมือนเป็นการผลักไสไล่ส่งแบบกลาย ๆ ให้ฮิคาริออกไปเผชิญกับความเป็น “คุณแม่ไม่พร้อม” แต่เพียงลำพัง
รวมถึงยังสะท้อนภาพ ‘ความเป็นหญิง’ ในญี่ปุ่นที่ไม่ได้มีแต่ด้านสวยงามหรือน่ารักแต่เพียงอย่างเดียว ญี่ปุ่นดูเหมือนจะคล้ายกับหลายประเทศทั่วโลก ที่ผู้หญิงมักประสบปัญหาความลำบากในชีวิตมากมายหลายประการ ผู้หญิงหลายคนตั้งครรภ์
ไม่พร้อม ซึ่งบางคนต้องออกจากการเรียนกลางคัน หนีออกจากบ้านไปหางานรับจ้างเงินน้อยเพื่อเลี้ยงชีพ บางคนอาจไม่มีทางออกในชีวิตจนต้องกลายไปเป็นโสเภณี หลายคนก็ถูกเอารัดเอาเปรียบ แถมมีชีวิตครอบครัวที่ไม่อบอุ่น ไม่เข้าใจ รวมถึงการต้องปิดบัง แอบซ่อนปัญหาเอาไว้ไม่ให้ใครเห็นเพราะกลัวว่าจะเสียหน้า และ อับอาย ตามลักษณะนิสัยแบบสังคมญี่ปุ่น
ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนหนึ่งมันเกิดขึ้นจากการให้กำเนิด และ การเลี้ยงดูที่บิดเบี้ยว แต่นั่นก็จะโทษผู้หญิงฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ เพราะมันก็เป็นข้อสังเกตของหนังอยู่เหมือนกัน ตรงที่ตัวหนังเน้นเล่าเรื่องของผู้หญิง (โดยเฉพาะชีวิตผู้หญิงญี่ปุ่น) เสียมาก จนทำให้ขาดมุมมองของผู้ชาย และ ความเป็นผู้ชายในฐานะผู้มีส่วนในความรับผิดชอบ ทั้งการเลี้ยงดูลูก และ การมีส่วนปกป้องสังคมไม่ให้คนไม่ว่าจะเพศไหน ต้องตกเป็นเบี้ยล่างหรือถูกเอาเปรียบในความแตกต่างทางเพศได้
แม้หนังเรื่องนี้ของผู้กำกับ ‘นาโอมิ คาวาเสะ’ จะมีความ ‘แมส’ มากกว่าหนังเรื่องอื่น ๆ ที่เธอเคยกำกับมาก่อนหน้านี้ แต่เรื่องนี้ก็ยังมีร่องรอยวิธีการเล่าเรื่องด้วยกลวิธีแบบหนังอินดี้อยู่พอสมควร ทั้งวิธีการเล่าเรื่องที่แช่มช้า (แต่ไม่เชื่องช้า)
การใช้ภาพธรรมชาติใน 6 เมืองสำคัญของประเทศญี่ปุ่น ทั้งป่าไม้ ภูเขา ทะเลอันสวยงามที่เสมือนเป็นตัวแทนเรื่องรา วและ ความรู้สึกของตัวละคร วิธีการเล่าเรื่องที่แหวกขนบทั้งการเปลี่ยนบางซีนให้กลายเป็นสารคดีสัมภาษณ์ที่ถือกล้อง Handheld รวมถึงการเล่าข้าม 2 เส้นเรื่องแบบไม่แคร์เวิลด์
ซึ่งแน่นอนว่าในทีแรกที่ดูอาจทำให้รู้สึกงงนิด ๆ ว่า ทำไมถึงเล่าเรื่องคนนั้นมากกว่าคนนี้ แต่สุดท้ายก็ทำให้เราหายงง เพราะตัวหนังกลาง และ ท้ายเรื่องกลับสามารถขมวดปม และ โยงใยเรื่องราวระหว่าง 2 ครอบครัว ภายใต้เรื่องราวของความเป็นแม่เข้ากันได้อย่างงดงาม และ สะท้อนเรื่องราวของสถาบันครอบครัว ความเป็นแม่ และ ความเป็นผู้หญิงได้อย่างหนักหน่วง งดงาม และ บาดลึกจนอาจน้ำตารื้น
แน่นอนว่าหลายคนอาจรู้สึกไปก่อนแล้วว่า หนังที่เกี่ยวกับประเด็นแม่ลูกบุญธรรม ก็คงไม่พ้นการแย่งชิงลูกกัน แต่ต้องบอกเลยว่า ‘True Mothers’ คือหนังที่ลงลึกให้เราได้เห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัว รวมถึงความเป็นแม่ ที่ไม่ใช่มีแค่ทำหน้าที่ให้กำเนิดออกมา
หรือทำหน้าที่เลี้ยงดูให้เติบโตเพียงเท่านั้น แต่ระหว่างทางที่มนุษย์คนหนึ่งเกิดขึ้นมา การมอบความรัก ความเข้าใจ และ การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังเหมือนคนไร้ตัวตนให้กับลูก นั่นต่างหากคือสิ่งที่จะทำให้ครอบครัว และ สังคมแข็งแรง และ มีความสุข เว็บหนัง