รีวิวหนัง Barbie บาร์บี้ 2023 เป็นผลงานที่ได้แรงบันดาลใจมาจากตุ๊กตาบาร์บี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีและเป็นที่รักของเด็กผู้หญิงมานานกว่า 60 ปี ซึ่งผู้กำกับได้นำเสนอเรื่องราวใหม่ของบาร์บี้แลนด์ที่มีแนวคิดที่เนรมิตโลกของบาร์บี้และให้มุกเสียดสีสังคมแบบตลกร้ายเข้ามาด้วย
ซึ่งน่าจะทำให้เรื่องราวมีความน่าสนใจและเป็นที่ต้องติดตามกันในหนังฉบับนี้ เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไรเชิญติดตามได้ที่รีวิวข้างล่างนี้เลยค่ะ ช่องทางการรับชมภาพยนตร์ ดูหนังVip
บาร์บี้แลนด์ แดนพลาสติก กับชีวิตที่ตามหาความหมาย
รีวิวหนัง Barbie บาร์บี้ 2023 เปลี่ยนโลกนี้ให้เป็นสีชมพู
I’m a Barbie girl, in the Barbie world Life in plastic, it’s fantastic เข้าสู่ช่วงเวลาของบาร์บี้กันอีกครั้ง ME นี้ขอกรี๊ดดัง ๆ ให้กับการกลับมาของตุ๊กตาที่สาว ๆ
หลายคนมีความผูกพันด้วยไม่น้อย และแน่นอนว่าเพื่อให้เพื่อน ๆ ได้เช็กว่าหนังเรื่อง BarbieTheMovie จะปังหรือพัง จะดูแข็งทื่อเหมือนพลาสติกจริงไหม ควรไปดูมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจึงไม่พลาดที่จะมารีวิวความรู้สึกหลังดูเรื่อง Barbie (บาร์บี้) ให้ทุกคนกันแล้ววว
เกรตา เกอร์วิก (Greta Gwerwig) ถือเป็นนักแสดงและผู้กำกับหญิงไม่กี่คนที่สามารถนำเสนอเรื่องราวหลากรสชาติเกี่ยวกับพลังแห่งความเป็นหญิง
ผ่านงานเขียนบทหนังอินดี้ฟอร์มเล็กที่เธอมักจะเขียนด้วยตัวเอง ทั้ง ‘Lady Bird’ (2017) หนังดราม่าตลกของค่าย A24 และ ‘Little Women’ (2019) สี่ดรุณีฉบับรีเมก
ซึ่งความยอดเยี่ยมจากบทภาพยนตร์ที่เธอเขียน สามารถเดินทางไปไกลถึงการเข้าชิงรางวัลออสการ์ ทั้งที่เพิ่งมีผลงานการกำกับเดี่ยว ๆ ของตัวเองมาเพียงแค่ 2 เรื่องเท่านั้น
และล่าสุด เกอร์วิกก็เป็นผู้กำกับหนังสายอินดี้อีกคนที่ได้มีโอกาสก้าวเข้ามาทำงานกับสตูดิโอใหญ่ Warner Bros. Pictures เป็นครั้งแรก
ซึ่งครั้งนี้เธอจับมือเขียนบทกับสามีของเธอเอง โนอาห์ เบาม์แบก (Noah Baumbach) มือเขียนบทฝีมือดี ดีกรีชิงออสการ์จาก ‘Marriage Story’ (2019) สร้างเรื่องราวของตุ๊กตาบาร์บี้ ของเล่นเด็กหญิงในตำนานของบริษัทแมตเทล (Mattel) จนกลายออกมาเป็น ‘Barbie’ ฉบับไลฟ์แอ็กชันที่เป็นไวรัลตั้งแต่ยังไม่ฉาย
เรื่องย่อ
บาร์บี้ (Barbie) เรื่องย่อ เป็นภาพยนตร์แนวตลก-ดราม่า สัญชาติอเมริกัน กำกับโดยเกรตา เกอร์วิก ออกฉายในปี 2023 ภาพยนตร์เรื่องนี้นำแสดงโดย มาร์โกต์ ร็อบบี ในฐานะบาร์บี้ และ ไรอัน กอสลิง ในฐานะเคน
ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องราวของบาร์บี้ ตุ๊กตาแฟชั่นที่ใช้ชีวิตในดินแดนแอนิเมชั่นที่สมบูรณ์แบบ แต่เธอรู้สึกเบื่อกับชีวิตของเธอและตัดสินใจที่จะออกผจญภัยในโลกแห่งความเป็นจริง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกจากนักวิจารณ์
โดยยกย่องการแสดงของร็อบบีและโกสลิง บทภาพยนตร์ การออกแบบการผลิต และดนตรี ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังประสบความสำเร็จในแง่ของการทำเงิน โดยทำรายได้ทั่วโลกมากกว่า 360 ล้านดอลลาร์ บาร์บี้ เป็นภาพยนตร์ที่สนุกสนานและสร้างสรรค์
เหมาะสำหรับผู้ชมทุกวัย ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นบทกวีแห่งความรัก มิตรภาพ และการยอมรับตนเอง Barbie เรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นถึงพลังของการเล่นและจินตนาการ ถือเป็นภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมที่ทุกคนจะต้องหลงรักอย่างแน่นอน
หลายคนอาจมีภาพจำของบาร์บี้เป็นตุ๊กตาหญิงสาวที่สมบูรณ์แบบ เป็นเหมือนต้นแบบที่เด็กสาวหลายคนอยากเป็น เพราะบาร์บี้ ทั้งสวย เก่ง และได้ใส่แต่ชุดสวย ๆ
ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ถอดภาพออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่มีผิดหวังตั้งแต่ในตัวอย่างภาพยนตร์แล้ว ดูเพลินมากตั้งแต่เริ่มเปิดเรื่อง เรียกได้ว่าเอาคนดูอยู่
จุดเด่นของหนังบาร์บี้
ต้องยกให้การนำเสนอประเด็นทางสังคมหนักๆ ให้กลายเป็นเรื่องราวที่เข้าใจได้ง่าย ชวนคนดูตั้งคำถามกับบทบาทต่างๆ ของตัวละครอย่างน่าสนใจ
จิกกัดสังคมทุนนิยมและเหน็บแนมปิตาธิปไตยได้อย่างตลกร้าย ผ่านการสร้างตัวละครผู้ชายคาแรกเตอร์งี่เง่าน่ารำคาญและไม่ฉลาดนัก ราวกับต้องการตอกกลับโลกฮอลลีวูดที่มักสร้างบทแม่มด ผีสาง ปีศาจ ให้กับตัวละครผู้หญิง
ในขณะที่การแสดงของไรอัน กอสลิ่ง ในบทบาท “เคน” ก็ขโมยซีนฮาๆ ไปได้อย่างน่าจดจำ ทั้งนี้ Barbie Movie จุดเด่น ไม่ได้แค่จิกกัดปิตาธิปไตย
แต่ยังสอดแทรกมุกที่เสียดสีโลกของบาร์บี้เองด้วย การอยู่ในโลกที่สมบูรณ์แบบแต่ทุกอย่างกลับปลอมเป็นพลาสติก จนเริ่มคนพบว่าชีวิตนั้นไร้ความหมายและไม่มีตัวตน
นำไปสู่การตื่นรู้ถึงพลังอำนาจในตัวเอง แม้เนื้อหาโดยรวมจะสนุกและชวนติดตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีความไม่สมเหตุสมผลและพยายามในการสร้างซีนให้ตัวละครด้วยสปีชต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ถือว่าหนังเรื่องบาร์บี้ 2023 ฉบับ Live-Action เป็นการพาผู้ชมกลับไปเปิดลิ้นชักแห่งความทรงจำถึงตุ๊กตาที่เด็กผู้หญิงทั่วโลกชื่นชอบผ่านเรื่องราวที่สนุก
สีสันสดใส ราวกับเฉลิมฉลองความเป็นผู้หญิงและทริบิวต์เนื้อหาให้กับบาร์บี้… ตุ๊กตาที่ทำงานหนักเพื่อเด็กผู้หญิงทั่วโลกมายาวนานกว่า 60 ปี
การใช้ สีชมพู ซึ่งเป็นสีประจำตัวของบาร์บี้มาใช้เล่าเรื่องก็น่าสนใจไม่น้อย ทุกฉากแทบจะต้องมีสีชมพูซุกซ่อนเอาไว้อยู่ ไม่ว่าจะบนเนกไท ผ้าพันคอ ชุด ขนาดหาดทรายยังเป็นสีชมพูเลยแม่เจ้า อยากชื่นชมเลยว่า เกรตา เกอร์วิก ใส่รายละเอียดสีชมพูไปได้ในทุกฉาก คุมโทนมากไม่ไหว
สำหรับประเด็นที่หนังชูให้เราเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ ความเฟมินิสต์ (Feminist) ที่เชื่อเลยว่าหลายคนอาจจะมีจังหวะขำก๊ากออกมาหรือแทบจะตบเข่าฉาด เพราะบทมันไม่ได้ขยี้แรง แต่ฉูดฉาดและหยิกหลังความเจ็บปวดที่ผู้หญิงต้องเจอได้แบบจี๊ดใจ
พล็อตเรื่อง
หนังใหม่แนะนำ ปฏิเสธไม่ได้แหละว่าหลายคนที่มองหนังเรื่องนี้ก็อาจจะคิดว่ามันก็เป็นหนังขายของเล่นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งองก์แรกของหนังก็พยายามให้เป็นอย่างนั้นนะครับ ขายขายความจิ้นระหว่างบาร์บี้และเคนตามสูตร
และขายจินตนาการในโลกของบาร์บี้แลนด์ที่ฝีนหลักฟิสิกส์ใด ๆ และเต็มไปด้วยโลกจินตนาการในอุดมคติที่มาพร้อมเพลงมิวสิคัล
รวมทั้งการสอดแทรก Easter Egg เกี่ยวกับบาร์บี้ รวมทั้ง เกร็ดประวัติศาสตร์และจุดกำเนิดของบาร์บี้เอาไว้ได้อย่างบันเทิงมาก
นอกจากนี้ หนังยังหยิกหยอกด้วยการสอดแทรก Easter Egg ที่จิกกัดวงการฮอลลีวูด ลามไปถึงค่ายหนัง แล้วย้อนมาจิกกัดบาร์บี้อีกที จนกลายเป็นมุกที่ร้ายกาจสุด ๆ
แต่สิ่งที่เซอร์ไพรส์เกินจากตัวอย่างหนังไปเยอะมาก ๆ ก็คือ การที่ตัวหนังค่อย ๆ เผยผิวว่า นี่ไม่ใช่หนังบาร์บี้เบาสมองอย่างที่เข้าใจนะ แต่มันเป็นหนังเซอร์เรียล หรือหนังแนวเหนือจริงที่สอดแทรกประเด็นขมเข้มเอาไว้ภายใต้หีบห่อสีชมพู Barbie Hot Pink ต่างหาก
ซึ่งก่อนอื่นก็ต้องชม Mattel ที่เข้าใจว่าการสร้างหนังจากของเล่นนั้นไม่ใช่แค่เนรมิตขึ้นมาให้สมจริงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มันสามารถสอดแทรกสารหนัก ๆ สารพัดอย่างเอาไว้ภายใต้ลุคของหนังที่ดูกระจุ๋มกระจิ๋มขนาดนี้
แถมยังยอมให้เกอร์วิกสนุกสนานกับการเล่นบ้านบาร์บี้ แทรกมุมมองเรื่องราว Coming of Age มุมมองการมองโลก การเติบโต ความฝัน ไปถึงขั้นแอบแตะการเมืองแบบเบา ๆ
แถมยังยอมให้เล่นมุกตลกร้ายแซวบริษัทตัวเอง ทั้งเรื่องของการพยายามใช้บาร์บี้เป็นตัว Empower ผู้หญิง แต่ผู้บริหารกลับมีแต่ผู้ชาย และอีกหลายมุกจนแอบทึ่งว่า พี่ยอมขนาดนี้เลยเรอะ
รีวิวหนัง Barbie บาร์บี้ 2023 บทสรุป
หนึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือตอนใกล้จบที่ตอนจบกล่าวว่าอีกนานกว่าเหล่าเคนจะมีสิทธิ์เสียงเท่าบาร์บี้ ซึ่งชวนให้นึกถึงการรอคอยที่ยาวนานกว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมในการเมือง ที่สิทธิเสียงของผู้หญิงเพิ่งมาถึงเมื่อประมาณร้อยยี่สิบปีก่อนในปี 1903 เมื่อกลุ่ม Suffragettes
ที่เรียกร้องสิทธิสตรีให้มีสิทธิ์ที่จะลงคะแนนเสียง และ กว่าที่ Nancy Witcher Langhorne Astor ผู้หญิงคนแรกจะได้นั่งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี 1919 หลายคนวิจารณ์ว่าหนังทั้งเรื่องและฉากนี้ลดความสำคัญของผู้ชายจนคล้ายเป็นไม้ประดับหรือสัตว์เลี้ยง
แต่มันอาจจะกำลังสะท้อนว่าในมุมนึงอาจจะมองได้มนุษย์เราในส่วนลึกแล้วไม่ได้ฝันหาความเท่าเทียม และสำหรับเราก็กระตุ้นให้เกิดคำถามเช่นกันว่าหากผู้หญิงได้ครองโลกเหมือนกับที่ผู้ชายทำแล้วนั้น พวกเธอจะหวงแหนและยื้ออำนาจการตัดสินใจเหล่านั้นไว้เช่นกันหรือไม่
อีกอย่างคือทางเลือกสุดท้ายของบาร์บี้ที่จะมาใช้ชีวิตอยู่ในโลกจริง แม้เธอจะเป็นตุ๊กตา และเริ่มชีวิตใหม่ด้วยการไปตรวจภายใน ในขณะที่ก่อนหน้านี้เธอพูดกับผู้ชายว่าเธอไม่มีอวัยวะเพศ ซึ่งคล้ายจะเป็นการขยายความเป็นภาพแทนของบาร์บี้
จากการเป็นตัวแทนของผู้หญิงเท่านั้น มาเป็นตัวแทนของคนที่เกิดมามีหัวใจที่ไม่ตรงกับรูปลักษณ์ภายนอก เหมือนกับบาร์บี้ที่ไม่ idetify ตัวเองเป็นแค่ตุ๊กตาอีกต่อไป ตอนจบที่ทิ้งไว้แบบปลายเปิดว่าบาร์บี้จะปรับตัวกับโลกใหม่นี้อย่างไร ก็ไม่ต่างกับอนาคตที่ยังไม่ชัดเจนของคนกลุ่มนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ ตัวหนังก็ใช้วิธีการเล่าผ่านเรื่องราว กรอบคิด และสะท้อนความเป็นจริงของมนุษย์ โดยมี ‘คน-บาร์บี้’ เป็นเหมือนขั้วที่ตรงข้ามกัน
โดยเฉพาะการให้บาร์บี้ต้องเผชิญกับภาวะที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับบาร์บี้ตัวไหน ทั้งวิกฤตการมีชีวิตอยู่ (Existential Crisis) หรือการย้อนกลับมาตั้งคำถามว่าตัวเองเป็นใคร เกิดมาทำไม มีหน้าที่อะไรกันแน่ การตั้งคำถามถึงเจตจำนงเสรี (Free Will)
รวมไปถึงพอบาร์บี้มาตรฐานกลายเป็นมาตรฐานความสวยในแบบบาร์บี้ ตัวหนังก็ยังท้าทายด้วยการทลายและจิกกัดมาตรฐานความงามสมบูรณ์แบบในอุดมคติ ให้บาร์บี้ต้องเผชิญข้อเท็จจริงอันโหดร้ายจากโลกจริง
เช่น บาร์บี้แบบมาตรฐานในสายตาโลกยุคเก่า คือตัวแทนของความสวยงามของผู้หญิง แต่ในโลกยุคใหม่ บาร์บี้คือของเล่นเชย ๆ ที่เป็นตัวแทนของทุนนิยม แถมยังแช่แข็งปัญหาด้านสตรีนิยม ความเท่าเทียมทางเพศ
และมาตรฐานความงามที่ผิดเพี้ยนอีกต่างหาก เรื่องราวของบาร์บี้จึงไม่ได้มีแค่เล่าเรื่องแค่ว่า บาร์บี้สวย บาร์บี้เก่ง บาร์บี้สามารถทำได้ทุกอย่าง หรือเคนจะพิชิตใจบาร์บี้ได้ไหม
แต่บาร์บี้กลับเป็นตัวแทนของคนที่บางครั้งถ้าเจออะไรที่สั่นคลอนตัวตนแบบนี้เข้าไป ก็อาจถึงขั้นพาให้รู้สึกซึมเศร้า สิ้นหวัง แตกสลาย หรืออาจถึงขั้นตายด้าน (Dead Inside) ไปเลยก็ได้
ความรู้สึกหลังชม
หนังบาร์บี้อาจจะไม่ใช่หนังเทพนิยาย เพราะมันคือเทพนิยายในโลกของความจริง หนังบาร์บี้ไม่ใช่หนังแอคชั่น แต่เส้นเรื่องก็มันส์และน่าลุ้น
โดยเฉพาะตอนเธอมาที่ Real World ไม่รู้ใครมาป่วนใครกันแน่ และหนังบาร์บี้อาจจะไม่ใช่หนังสอนใจ แต่มันแฝงไปด้วยพลังของหญิงสาวสีชมพูที่หลายคนโตมาด้วย และบันทึกเรื่องราวที่เด็กผู้หญิงหลายคนมีประสบการณ์ร่วมกันไว้ได้อย่างดี
ภาพยนตร์ Barbie จึงเป็นหนังอีกเรื่องที่อยากดันหลังให้ทุกคนไปลองดูด้วยตัวเอง อย่างน้อยคุณจะได้พักสมอง และได้อะไรกลับมาอย่างแน่นอน เหมือนกับมีมที่บอกว่า ทุกอย่างดูซอฟต์ลงเมื่อเป็นสีพาสเทล หรือเติมคำว่า “งับ” ต่อท้ายอะไรประมาณนั้น
นักวิจารณ์หลายคนบนเว็บไซต์ Rotten Tomatoes ก็ได้ยกให้เป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตอนนี้ของ เกรตา เกอร์วิก ผู้กำกับเลยทีเดียว แถมยังได้คะแนนสูงถึง 89 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย
ถ้าเย็นนี้ยังไม่มีแพลนจะทำอะไร ลองเลี้ยวเข้าโรงภาพยนตร์ไปใช้เวลาร่วม 2 ชั่วโมงของคุณกับ บาร์บี้ กันดู รับรองว่าพรุ่งนี้คุณจะอยากทักเพื่อนด้วยคำว่า “Hi Barbie” แน่ ๆ
โดยรวมแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง Barbie เป็นภาพยนตร์ที่ผสมผสานกันระหว่างข้อดีและข้อเสีย ภาพยนตร์เรื่องนี้มีภาพที่สวยงามและการออกแบบฉากต่าง ๆ ที่เต็มไปด้วยจินตนาการ
นักแสดงนำแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะมาร์ก็อต ร็อบบี้ และ ไรอัน กอสลิ่ง อย่างไรก็ตามภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ออกจะตื้นเขินและไม่มีอะไรใหม่เท่าไหร่
นอกจากนี้ยังมีความส่งเสริมค่านิยมที่ล้าสมัยเกี่ยวกับความงามและเพศ ซึ่งไม่ค่อยสอดคล้องกับ Movement ของสังคมในปัจจุบันมากเท่าไหร่นัก สุดท้ายภาพยนตร์เรื่อง Barbie จัดว่าเหมาะสำหรับผู้ชมที่ชื่นชอบภาพยนตร์ที่ดูเพื่อความบันเทิง
เหมาะสำหรับทุกวัย แต่สำหรับผู้ชมที่มองหาภาพยนตร์ที่ลึกซึ้งและน่าประทับใจ ภาพยนตร์เรื่องนี้อาจไม่ตรงกับความต้องการของคุณสักเท่าไหร่นัก
แต่ถึงอย่างนั้น Barbie ก็ยังถือว่าเป็นหนังที่ทุกคนควรดูอย่างยิ่ง แต่จะชอบมากหรือน้อยก็ขอทุกคนได้ตัดสินกันหลังจากดูเองจะดีที่สุด
และเราก็อยากจะขอฝาก รีวิวหนัง The Childe เทพบุตรล่านรก หนังใหม่ของคิมซอนโฮ ลุ้นระทึกสวมบทนักล่าฆ่าด้วยรอยยิ้ม ติดตามรับชมรับอ่านได้เลยค่ะ
สุดท้ายเรามีรีวิวหนังที่อยากจะมาแนะนำเพื่อนๆทุกคน นั่นก็คือเรื่อง เธอกับฉันกับฉัน ปี 1999 ขณะที่ทั่วโลกกำลังพูดถึงปัญหา Y2K และข่าวลือว่าโลกอาจจะแตกในวันสิ้นปี ยู กับ มี ฝาแฝดวัย ม.ต้น ก็เป็นอีกคู่ที่กังวลกับอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งคู่สนิทและรักกันมาก แชร์ทุกอย่างร่วมกัน จนต่างเป็นเหมือนโลกทั้งใบของกันและกัน ติดตามอ่านได้ที่นี่เลย